โลโก้เว็บไซต์ พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) และหารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มทร.ล้านนา วิทยาลัยโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ และ HUATEC | วิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) และหารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มทร.ล้านนา วิทยาลัยโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ และ HUATEC

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 13 พฤษภาคม 2568 โดย แก้วใส โล่ห์เพ็ชร จำนวนผู้เข้าชม 23 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยงานวิเทศสัมพันธ์ จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) และการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกับวิทยาลัยโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ และบริษัท Beijing Huatec Information Technology Co., Ltd (HUATEC) สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 4 อาคารหอสมุด มทร.ล้านนา จังหวัดเชียงใหม่

โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน นโยบายและยุทธศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมาน ดาวเวียงกัน ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยบุคลากรงานวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม

ในการนี้มีผู้แทนจากทั้งสามสถาบันเข้าร่วมพิธีดังรายนามต่อไปนี้:

ผู้แทนจากวิทยาลัยโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่

  1. อาจารย์ศิรภพ เจริญกุศล – รองผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการศึกษา (ผู้ลงนาม)

  2. อาจารย์ประสิทธิ์ ชูดวง – รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา

  3. อาจารย์ภราดร ทองศิริ – หัวหน้าสาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล

  4. อาจารย์สืบศักดิ์ จิตรบุณย์ – อาจารย์งานวิชาการ

ผู้แทนจาก Beijing Huatec Information Technology Co., Ltd (HUATEC)

  1. Ms. Liu Tianjiao – General Manager, International Education Technology Branch

  2. Ms. Ma Yanping – Chief of Operation Department, International Education Technology Branch

  3. Ms. Luo Shasha – Director of ASEAN Business Strategy, International Education Technology Branch

ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาและยกระดับศักยภาพทางด้านวิชาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการผลิตกำลังคนที่มีทักษะสูงรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ การบูรณาการระหว่างภาครัฐ สถานศึกษา และภาคเอกชนจากต่างประเทศจะนำไปสู่การแบ่งปันทรัพยากร ความรู้ และประสบการณ์ที่มีคุณค่า พร้อมเปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ สอดรับกับทิศทางการศึกษาสมัยใหม่และการเติบโตของเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา